สภาพทั่วไป
1. สภาพทั่วไป
เทศบาลตำบลบ้านแซว ได้รับการยกฐานะจากสภาตำบลบ้านแซว เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2540 ตาม พรบ. สภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 มาตรา 40 และมาตรา 41 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับทั่วไปเล่ม 113 ตอนพิเศษ 52 ง ลงวันที่ 25 ธันวาคม 2539 และประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล ลงวันที่ 16 ธันวาคม 2539 และได้ยกฐานะเป็นเทศบาลตำบลบ้านแซว เมื่อวันที่ ๖ กันยายน พ.ศ.2556 ปัจจุบันมีสำนักงานที่ทำการชั่วคราวอยู่ที่ศาลาอเนกประสงค์บ้านแซวกลาง ตำบลบ้านแซว อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย ราษฎรในพื้นที่ประกอบด้วย ชนชาวพื้นเมือง ซึ่งอาศัยอยู่ในหมู่ที่ 1, 2, 3, 6, 7, 8, 11, 14 และหมู่ 15 สันนิษฐานว่าอพยพมาจากจังหวัดลำปาง ซึ่งเจ้าบุญวาทย์ ขณะดำรงตำแหน่งเจ้าราชบุตรเมืองลำปางได้คุมกำลังคนประมาณ 500 คน มารักษาเมืองเชียงแสน เพื่อป้องกันพวกเงี้ยว ที่กำลังก่อการร้ายอยู่ในขณะนั้นและกำลังส่วนหนึ่งอาจจะเห็นว่าลักษณะภูมิประเทศบริเวณบ้านแซว หมู่ 1 ในปัจจุบันเหมาะสมที่จะเป็นที่อยู่อาศัยและประกอบอาชีพด้านการเกษตร จึงชักชวนญาติพี่น้อง อพยพเข้ามาอยู่ ต่อมาจึงมีราษฎรอพยพเข้ามาตั้งรกรากเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ทั้งบนพื้นที่ราบริมฝั่งแม่น้ำโขงและพื้นที่ราบระหว่างหุบเขา และพื้นที่ตามภูเขาสูง ตามภูเขายังมีชาวไทยภูเขาเผ่าเย้าอพยพเข้ามาอาศัยอยู่ในพื้นที่บ้านห้วยเดื่อ หมู่ 4 บ้านห้วยกว๊านหมู่ 9 บ้านห้วยข่อยหล่อย หมู่ 12 บ้านห้วยน้ำเย็น หมู่ 13 และยังมีชาวจีนห่อซึ่งเป็นอดีตทหารจีนคณะชาติ ซึ่งทางกองทัพภาคที่ 3 ได้อพยพเข้ามาอยู่พื้นที่บ้านแม่แอบ หมู่ที่ 11 แต่เดิมพื้นที่ตำบลบ้านแซว อยู่ทางทิศตะวันออกของอำเภอเชียงแสนทั้งหมด เมื่อ พ.ศ. 2529 จึงแยกเขตการปกครองตำบลขึ้นใหม่ คือ ตำบลแม่เงิน ในช่วงปี พ.ศ.2508 – 2523 ตำบลบ้านแซวเป็นพื้นที่เขตสีชมพูที่มีการเคลื่อนไหวของผู้ก่อการร้ายคอมมิวนีสต์ มีการใช้กำลังเข้าปราบปรามทำให้สูญเสียกำลังทั้งสองฝ่าย จนในปี พ.ศ. 2514 อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย นายประหยัด สมานมิตร ถูกยิงเสียชีวิตในพื้นที่บ้านห้วยกว๊าน หมู่ 9 เนื่องจากเดินทางมารับผู้เข้าร่วมพัฒนาชาติไทยในพื้นที่ จากเหตุการณ์ครั้งนั้นทำให้การพัฒนาในตำบลบ้านแซว เป็นไปอย่างล่าช้า จนในที่สุดสมัยรัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ได้ประกาศใช้นโยบาย 66/23 โดยใช้การเมืองนำทหาร เหตุการณ์จึงสงบลง และได้รับการพัฒนาตามสมควรตั้งแต่นั้นมา
1.1 ที่ตั้ง
เทศบาลตำบลบ้านแซว มีที่ตั้งที่ทำการชั่วคราว ณ อาคารศาลาอเนกประสงค์บ้านแซวกลาง หมู่ที่ 14 ตำบลบ้านแซว อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย มีพื้นที่รับผิดชอบ จำนวน 15 หมู่บ้าน ประกอบด้วย ชนชาวพื้นเมือง จำนวน 9 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านแซว หมู่ที่ 1 บ้านทุ่ง หมู่ที่ 2 บ้านท่าขันทอง หมู่ที่ 3 บ้านป่าตึง หมู่ที่ 5 บ้านเกาะผาคำ หมู่ที่ 6 บ้านสบกก หมู่ที่ 7 บ้านสวนดอก หมู่ที่ 8 บ้านสันทรายกองงาม หมู่ที่ 10 บ้านแซวกลาง หมู่ที่ 14 บ้านหัวกว้าน หมู่ที่ 15 ชาวไทยภูเขาเผ่าเย้า จำนวน 4 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านห้วยเดื่อ หมู่ที่ 4 บ้านห้วยกว๊าน หมู่ที่ 9 บ้านห้วยข่อยหล่อย หมู่ที่ 12 บ้านห้วยน้ำเย็น หมู่ที่ 13 และอดีตทหารจีนคณะชาติกองพล 93 จำนวน 1 หมู่บ้าน คือบ้านแม่แอบ หมู่ที่ 11 โดยพื้นที่ตำบลห่างจากที่ว่าการอำเภอเชียงแสนไปทางทิศตะวันออกของอำเภอ ระยะทาง 10 กิโลเมตร ห่างจากศาลากลางจังหวัดเชียงราย ระยะทาง 74 กิโลเมตร
https://www.google.co.th/maps/@20.2552169,100.1777231,889m/data=!3m2!1e3!4b1!4m2!7m1!2e1?hl=th
1.2 เนื้อที่
เทศบาลตำบลบ้านแซว มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 209 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 130,625 ไร่
1.3 ภูมิประเทศ
พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาสลับกับที่ราบระหว่างหุบเขา ที่ราบลุ่มริมฝั่งแม่น้ำกกและแม่น้ำโขง มีน้ำท่วมขังในฤดูฝน บ้านเรือนราษฎรส่วนใหญ่ตั้งอยู่บริเวณที่ราบริมฝั่งแม่น้ำ และอีก 5 หมู่บ้าน ซึ่งเป็น ชาวไทยภูเขา ตั้งอยู่บนภูเขาสูงด้านทิศใต้ของตำบลในพื้นที่เขตป่าสงวนแห่งชาติ สบกกฝั่งขวา มีแหล่งน้ำธรรมชาติสำคัญ ได้แก่ลำห้วยแม่แอบ ร่องขุ่น ลำน้ำบง แม่น้ำกก หนองน้ำ แม่น้ำห้วยกว้าน และแม่น้ำโขงเป็นเส้นแบ่งดินแดนประเทศไทยกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
ทิศเหนือ ติดต่อกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวและตำบลแม่เงิน อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงรายโดยมีแนวเขตเริ่มต้นจากแม่น้ำกกบรรจบแม่น้ำโขง บริเวณพิกัด PC 197386 ไปทางทิศตะวันออก ตาม แม่น้ำโขงถึงบริเวณพิกัด PC 249460 ไปทางทิศใต้ ตามลำเหมืองหนองเรือถึงหนองเรือเรียบริมหนองเรือทางด้านทิศตะวันออกไปถึงลำน้ำร่องขุ่น บริเวณพิกัด PC 264446 ไปทางทิศตะวันออกตาม ลำเหมืองสาธารณะถึงถนนทางหลวงหมายเลข 1129 บริเวณพิกัด PC 281444 ไปตามลำเหมือง บริเวณพิกัด PC 286440 สิ้นสุดที่เชิงเขา บริเวณพิกัด PC 297432
รวมระยะทางด้านทิศเหนือ ประมาณ 23 กิโลเมตรทิศตะวันออก
ทิศตะวันออก ติดต่อกับตำบลแม่เงิน อำเภอเชียงแสน และตำบลสถาน อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย
โดยมีแนวเขตเริ่มต้นจากเชิงเขาบริเวณพิกัด PC 297432 ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ตามสันเขาดอยกู่ผ่านเนิน 577 ถึงบริเวณพิกัด PC 277415 ไปทางทิศใต้ตามสันเขา ผ่านเนิน 611 บริเวณพิกัด PC 270385 ข้ามห้วยยาบน้อย ผ่านเนิน 593 บริเวณพิกัด PC 316387 เนิน 843 เนิน 943 ถึงดอยหัวกว๊าน เนิน 1062 บริเวณพิกัด PC 344378 ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ บริเวณพิกัด PC 367352
รวมระยะทางด้านทิศตะวันออกประมาณ 22 กิโลเมตร
ทิศใต้ ติดต่อกับตำบลโชคชัย กิ่งอำเภอดอยหลวง จังหวัดเชียงราย
โดยมีแนวเขตเริ่มต้นจากสันดอยผาตื้น เนิน 641 บริเวณพิกัด PC 367325 ไปทางทิศตะวันออก เฉียงเหนือตามลำน้ำแอบหลวง โดยถือแนวกึ่งกลางลำน้ำแอบหลวงเป็นแนวเบ่งเขต ผ่านถนนสายแม่แอบถึงบ้านขุนแม่บงบริเวณพิกัด PC 279328 ไปตามลำน้ำแม่แอบหลวง สิ้นสุดบริเวณพิกัด PC 261340
รวมระยะทางด้านทิศใต้ประมาณ 15 กิโลเมตร
ทิศตะวันตก ติดต่อกับตำบลหนองป่าก่อ กิ่งอำเภอดอยหลวง และตำบลเวียง อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงรายโดยมีแนวเขตเริ่มต้นจากลำน้ำแม่แอบหลวง บริเวณพิกัด PC 261340 ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ตามสันเข้าผ่านเนิน 586 บริเวณพิกัด PC 249382 ไปทางทิศตะวันตกตามช่องเขาระหว่างเนิน 649 กับเนิน 839 ไปตามลำห้วยธรรมชาติ บริเวณพิกัด PC 227346 ตามแนวทางเกวียนถึงร่องแม่น้ำบงบริเวณพิกัด PC 200358 โดยถือกึ่งกลางแม่น้ำบงเป็นแนวแบ่งเขต ถึงแม่น้ำบงบรรจบลำเหมืองสาธารณะกับถนนลูกรัง ด้านทิศใต้ของรั้วโรงเรียน ประมาณ 20 เมตร ไปทางทิศใต้ ตามถนนลูกรังบรรจบกับถนนทางหลวงหมายเลข 1271 บริเวณพิกัด PC 197357 ไปทางทิศตะวันตกตามสันเนิน 409 และเนิน 396 ไปทางทิศ ตะวันตกบรรจบกับร่องน้ำห้วยทรายโดยถือกึ่งกลางลำห้วยเป็นแนวแบ่งเขตไปบรรจบกับแม่น้ำกก บริเวณพิกัด PC 178368 ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือตามละน้ำกก สิ้นสุดที่แม่น้ำกกบรรจบแม่น้ำโขง บริเวณพิกัด PC 197386
รวมระยะทางด้านทิศตะวันตกประมาณ 19 กิโลเมตร
1.4 จำนวนหมู่บ้าน
การปกครองแบ่งออกเป็น 15 หมู่บ้าน ประกอบด้วย
หมู่ที่ |
หมู่บ้าน |
ผู้นำ |
ตำแหน่ง |
1 |
บ้านแซว |
นายอาคม |
แก้วดำ |
กำนัน |
2 |
บ้านทุ่ง |
นายอำพล |
กุลสิทธิ |
ผู้ใหญ่บ้าน |
3 |
บ้านท่าขันทอง |
นางสุรีรัตน์ |
อินทรพรหมมา |
ผู้ใหญ่บ้าน |
4 |
บ้านห้วยเดื่อ |
นางทักษิณ |
ลิ้วสวัสดิกุล |
ผู้ใหญ่บ้าน |
5 |
บ้านป่าตึง |
นายสงกรานต์ |
ชุ่มมงคล |
ผู้ใหญ่บ้าน |
6 |
บ้านเกาะผาคำ |
นายภิรมย์ |
จันทะรังษี |
ผู้ใหญ่บ้าน |
7 |
บ้านสบกก |
นายนิรันดร์ |
กุณะ |
ผู้ใหญ่บ้าน |
8 |
บ้านสวนดอก |
นายชรินทร์ |
วงค์เรือน |
ผู้ใหญ่บ้าน |
9 |
บ้านห้วยกว้าน |
นายพีรพัฒน์ |
กิตติวรศรีสกุล |
ผู้ใหญ่บ้าน |
10 |
บ้านสันทรายกองงาม |
นายวัฒนา |
อินต๊ะอุ่นวงค์ |
ผู้ใหญ่บ้าน |
11 |
บ้านแม่แอบ |
นางอังสนา |
ดวงสถิต |
ผู้ใหญ่บ้าน |
12 |
บ้านห้วยข่อยหล่อย |
น.ส.หทัยรัตน์ |
เลิศศรีพัฒนากุล |
ผู้ใหญ่บ้าน |
13 |
บ้านห้วยน้ำเย็น |
นายนิพนธ์ |
พานพิชัย |
ผู้ใหญ่บ้าน |
14 |
บ้านแซวกลาง |
นายพรชัย |
ตุ้ยสุวรรณ |
ผู้ใหญ่บ้าน |
15 |
บ้านหัวกว๊าน |
นายพีรวัตร |
มูลเฟย |
ผู้ใหญ่บ้าน |
1.5 ประชากรตำบลบ้านแซว
ประชากรทั้งหมด 11,823 คน เป็นชาย 5,920 คน เป็นหญิง 5,903 คน ข้อมูล ณ เดือน มีนาคม พ.ศ.2565 ข้อมูลสำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง
หมู่ที่ |
ชื่อหมู่บ้าน |
ชาย |
หญิง |
รวม |
จำนวนครัวเรือน |
1 |
บ้านแซว |
361 |
416 |
777 |
349 |
2 |
บ้านทุ่ง |
366 |
350 |
716 |
333 |
3 |
บ้านท่าขันทอง |
312 |
322 |
634 |
247 |
4 |
บ้านห้วยเดื่อ |
727 |
717 |
1,444 |
521 |
5 |
บ้านป่าตึง |
594 |
595 |
1,189 |
868 |
6 |
บ้านเกาะผาคำ |
122 |
125 |
247 |
116 |
7 |
บ้านสบกก |
183 |
193 |
376 |
163 |
8 |
บ้านสวนดอก |
111 |
128 |
239 |
106 |
9 |
บ้านห้วยกว๊าน |
284 |
295 |
579 |
144 |
10 |
บ้านสันทรายกองงาม |
557 |
486 |
1,043 |
509 |
11 |
บ้านแม่แอบ |
1,381 |
1,380 |
2,761 |
938 |
12 |
บ้านห้วยข่อยหล่อย |
343 |
304 |
647 |
194 |
13 |
บ้านห้วยน้ำเย็น |
274 |
269 |
543 |
173 |
14 |
บ้านแซวกลาง |
206 |
224 |
430 |
180 |
15 |
บ้านหัวกว๊าน |
99 |
99 |
198 |
82 |
รวม |
5,9920 |
5,903 |
11,823 |
4,923 |
1.6 ช่วงอายุและจำนวนประชากร
ประชากรส่วนใหญ่อยู่ในวัยทำงาน 35 – 55 ปี
2. สภาพทางสังคม
2.1 ข้อมูลด้านการศึกษา
- ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 5 แห่ง
- หมู่ที่ 1 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านแซว
หมู่ที่ 4 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านห้วยเดื่อ
หมู่ที่ 5 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านป่าตึง
หมู่ที่ 11 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านแม่แอบ
หมู่ที่ 13 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านห้วยน้ำเย็น
- โรงเรียนประถมศึกษา จำนวน 7 แห่ง
- หมู่ที่ 1 โรงเรียนเทศบาลตำบลบ้านแซว
หมู่ที่ 4 โรงเรียนป่าไร่หลวงวิทยา
หมู่ที่ 5 โรงเรียนป่าตึงพิทยานุกูล
หมู่ที่ 8 โรงเรียนบ้านสวนทองท่าขันทองสามัคคี
หมู่ที่ 9 โรงเรียนบ้านห้วยกว๊าน
หมูที่ 10 โรงเรียนบ้านศรีกองงาม
หมู่ที่ 11 โรงเรียนแม่แอบวิทยา
- โรงเรียนมัธยมศึกษา จำนวน 3 แห่ง
- หมู่ที่ 2 โรงเรียนบ้านแซววิทยาคม
หมู่ที่ 5 โรงเรียนป่าตึงพิทยานุกูล
หมู่ที่ 11 โรงเรียนแม่แอบวิทยา
2.2 ข้อมูลด้านการศาสนา
- วัด จำนวน 11 แห่ง
สำนักสงฆ์ จำนวน 3 แห่ง
โบสถ์ จำนวน 8 แห่ง
2.3 ข้อมูลด้านสาธารณสุข
- โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล จำนวน 2 แห่ง
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบลตั้งอยู่ในหมู่ที่ 10 บ้านสันทรายกองงาม
เจ้าหน้าที่สาธารณสุข จำนวน 4 คน
พยาบาล จำนวน 2 คน
พนักงานจ้าง จำนวน 5 คน
- โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบลตั้งอยู่ในหมู่ที่ 11 บ้านแม่แอบ
เจ้าหน้าที่สาธารณสุข จำนวน 2 คน
พยาบาล จำนวน 1 คน
พนักงานจ้าง จำนวน 2 คน
2.4 ข้อมูลด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
- ป้อมตำรวจ ตั้งอยู่ในหมู่ที่ 6 บ้านเกาะผาคำ จำนวน 1 แห่ง
ป้อมตำรวจ ตั้งอยู่ในหมู่ที่ 10 บ้านสันทรายกองงาม จำนวน 1 แห่ง
อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน (อปพร.) จำนวน 75 คน
อาสาสมัครสาธารณสุขมูลฐาน (อ.ส.ม.) จำนวน 211 คน
3. ระบบเศรษฐกิจ
3.1 การเกษตร
ราษฎรส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ 80 ประกอบอาชีพทำการเกษตรกรรมได้แก่ทำนา ปลูกข้าว ไร่ยาสูบ ข้าวโพด รวมทั้งปลูกยางพาราที่เหลือประกอบอาชีพส่วนตัวและรับจ้าง
3.2 การประมง
ตำบลบ้านแซวมีการประมงโดยการจับปลาน้ำโขง
3.3 การปศุสัตว์
ตำบลบ้านแซว มีการปศุสัตว์ คือ การเลี้ยงโค และการเลี้ยงสุกร ในทุกหมู่บ้าน
3.4 การบริการ
บริการนวดพื้นเมือง ที่ กลุ่มนวดพื้นเมือง
มีร้านบริการทำผม เสริมสวย
มีโรงแรมในพื้นที่ จำนวน 1 แห่ง
มีรีสอร์ทในพื้นที่ จำนวน 1 แห่ง
มีโรงสีข้าวขนาดเล็กในพื้นที่ จำนวน 5 แห่ง
3.5 การท่องเที่ยว
โฮมสเตย์บ้านท่าขันทอง, น้ำตกผาลาด, อนุสรณ์สถาน 3 ผู้กล้า, ชนเผ่าบ้านแม่แอบ
3.6 แรงงาน
ราษฎรส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ 80 ประกอบอาชีพทำการเกษตรกรรมได้แก่ทำนา ปลูกข้าว ไร่ยาสูบ ข้าวโพด รวมทั้งปลูกยางพาราที่เหลือประกอบอาชีพส่วนตัวและรับจ้าง
4. เศรษฐกิจพอเพียงท้องถิ่น (ด้านการเกษตรและแหล่งน้ำ)
4.1 ข้อมูลด้านการเกษตร
ราษฎรส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ 80 ประกอบอาชีพทำการเกษตรกรรมได้แก่ทำนา ปลูกข้าว ไร่ยาสูบ ข้าวโพด ยางพารา
4.2 ข้อมูลด้านแหล่งน้ำการเกษตร
แหล่งน้ำธรรมชาติไหลผ่าน และแม่น้ำโขง อ่างเก็บน้ำต่างๆ
4.3 ข้อมูลด้านแหล่งน้ำกิน น้ำใช้ (หรือน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภค)
มีระบบประปาบาดาลหมู่บ้าน จำนวน 10 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ที่ 1 - 10
ยกเว้น หมู่ที่ 11 ใช้ระบบประปาภูเขา
5. ศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม
5.1 การนับถือศาสนา
ประชาชน ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ
- วัด จำนวน 13 แห่ง
สำนักสงฆ์ จำนวน 2 แห่ง
โบสถ์ จำนวน 8 แห่ง
6. ด้านการเมืองการบริหาร
ส่วนราชการของเทศบาลส่วนตำบล ประกอบด้วย
หน่วยงานที่มีฐานะเป็นกองหรือส่วนราชการ
- 1.สำนักปลัด
2.กองคลัง
3.กองช่าง
4.กองการศึกษา
5.กองสาธารณะสุขและสิ่งแวดล้อม
- อัตรากำลังของเทศบาลบ้านแซว


ระดับการศึกษาของบุคลากร
- ประถมศึกษา 3 คน
มัธยมศึกษาตอนต้น / ปวช. 4 คน
มัธยมศึกษาตอนปลาย / ปวส. 13 คน
ปริญญาตรี 30 คน
ปริญญาโท 6 คน
7. สถิติรายรับ – รายจ่าย เทศบาลตำบลบ้านแซว 3 ปีย้อนหลัง
7.1 เปรียบเทียบรายได้ของเทศบาลตำบลบ้านแซว 3 ปี ย้อนหลัง
ที่ |
แหล่งที่มารายได้ |
รายรับจริง ปี 2561 |
ประมาณการ ปี 2562 |
ประมาณการ ปี 2563 |
1.
2.
3.
4.
5. |
รายได้ที่เทศบาลจัดเก็บเอง
รายได้ที่รัฐจัดสรรให้
รายได้ที่หน่วยงานอื่นจัดให้
เงินอุดหนุนจากรัฐบาล
รายได้จากทรัพย์สิน |
1,298,165.93
26,730,840.63
-
35,499,756.00
-
|
1,360,000.00
25,100,000.00
-
40,040,000.00
-
|
2,892,400.00
25,014,600.00
-
40,420,000.00
-
|
รวม |
63,528,762.56 |
66,500,000.00 |
68,327,000.00 |
7.2 ข้อมูลด้านรายจ่ายของเทศบาลตำบลบ้านแซว 3 ปี ย้อนหลัง
ที่ |
หมวดรายจ่าย |
รายจ่ายจริงปี 2561 |
ประมาณการปี 2562 |
ประมาณการปี 2563 |
1.
|
จ่ายจากงบประมาณ
1.1 งบกลาง
1.2 งบบุคลากร
1.3 งบดำเนินงาน
1.4 งบลงทุน
1.5 งบรายจ่ายอื่น
1.6 งบเงินอุดหนุน
รวมจ่ายจากงบประมาณการ
|
13,450,824.40
15,145,937.91
12,628,341.56
4,112,454.12
11,000.00
4,551,660.09
49,900,218.08
|
15,753,557.00
20,232,120.00
17,642,043.00
7,874,780.00
20,000.00
4,977,500.00
66,500,000.00 |
15,791,600.00
21,471,309.00
17,707,521.00
8,394,070.00
20,000.00
4,942,500.00
68,327,000.00 |
|
รวม |
49,900,218.08 |
66,500,000.00 |
68,327,000.00 |
|
|